วันเสาร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนในการป้องกันการเข้าทำลายของปลวกในอาคารบ้านเรือน


สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1.1        ควรออกแบบอาคารให้มีการยกพื้นให้สูงจากระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 18 นิ้ว เพื่อให้สามารถสังเกตเส้นทางเดินของปลวกที่จะขึ้นสู่ตัวอาคารได้ชัดเจน
1.2        จัดให้มีการระบายความชื้นและระบายอากาศภายใต้อาคาร อย่าให้เกิดเป็นหลุมบ่อหรือแหล่งสะสมความชื้นใต้อาคาร
1.3        ควรเลือกวัสดุหรือชนิดของไม้ที่มีความทนทานต่อปลวก เช่น ไม้สัก ไม้เต็ง ไม้ตะเคียน หรือไม้ตำเสา และไม้หลุมพอ โดยเฉพาะบริเวณฐานรากของอาคาง
2.1        บริเวณพื้นที่ปลูกสร้างอาคาร ควรกำจัดเศษไม้ กิ่งไม้ ตอไม้ หรือวัสดุอื่นๆ ที่จะเป็นแหล่งอาหารล่อใจให้ปลวกเขามาอยู่อาศัยอยู่กินภายใต้อาคาร หรือบริเณรอบๆ
2.2         หมั่นเคลื่อนย้าย จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ที่เก็บไว้เป็นระยะเวลานานๆ เช่น ในห้องเก็บของ หรือห้องใต้บันได
2.3         หมั่นตรวจตราร่องรอย หรือเส้นทางการเข้าทำลายของปลวกที่จะเข้าสู่ตัวอาคารก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรงขึ้น หากพบต้องดำเนินการกำจัดโดยเร็ว
ในโครงสร้างอาคารโดยเฉพาะส่วนที่เป็นคาน ตง คร่าว เพดาน วงกบ ประตูหน้าต่าง เป็นต้น ควรใช้อาบน้ำยา ซึ่งในกรณีที่ไม่สามารถอัดน้ำยาได้ อาจใช้กรรมวิธีการอาบน้ำยาไม้อย่างง่าย เช่น การฉีดพ่น การทา การจุ่ม และการแช่ก็ได้ อย่างไรก็ดี การอัดน้ำยาไม้โดยใช้กำลังอัดจะให้ผลในการป้องกันที่ยาวนานกว่าวิธีอื่นๆ
ในการป้องกันการเข้าทำลายของปลวกใต้ดิน เพื่อให้ได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูง ควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ
4.1        ใช้สารเคมีป้องกันปลวกฉีดพ่นหรือลาดลงบนพื้นผิวดินภายใต้ตัวอาคารให้ทั่ว ในอัดตราน้ำยาผสมตามความเข้มข้นที่กำหนด 5 ลิตรต่อทุกๆ  1 ตารามเมตร ก่อนปูพื้น หรือเทคอนกรีตสำหรับคานคอดิน ให้ขุดเป็นร่องกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตรทั้งด้านในและด้านนอก แล้วจึงใช้น้ำยาผสมแล้วตามความเข้มข้นที่กำหนดเทราดลงไปตามร่องนั้น ในอัดตราน้ำยาผสม 5 ลิตรต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร
4.2        ฉีดพ่นหรือราดน้ำยาเคมีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ภายหลังจากที่ทำการถมดินหรือถมทราย แล้ว อัดพื้นให้แน่น ก่อนที่จะเทพื้นคอนกรีต
4.3        บริเวณรอบๆอาคาร ควรฉีดหรือพ่นน้ำยาป้องกันปลวกเป็นแนวป้องกันรอบนอกอาคารอีกครั้ง โดยใช้ยาผสมแล้วในอัดตรา 5 ลิตรต่อทุกระยะ 1  ตารางเมตร โดยรอบอาคาร
 

ให้ขุดดินตรงโคนเสา ตอม่อ ขนาดกว้างประมาณ 15-30 ซม. และตามท่อต่างๆที่ติดต่อระหว่างอาคารกับพื้นดินทุกแห่ง ให้เป็นร่องโดยรอบ ขนาดกว้าง 15-30 ซม. ลึก 20-30 ซม. แล้วเทน้ำยาลงไปในร่อง โดยใช้น้ำยาผสม 5 ลิตร ต่อทุกความยาวร่อง 1 เมตร หากใต้ถุนเทพื้นคอนกรีตหรือก่ออิฐถือปูน เช่นมีครัวที่ติดกับพื้นดินพื้นซักล้างและฐานรองรับบันไดบ้านจะต้องใช้น้ำยาเทราดให้ทั่วผิวดินก่อนปูพื้นคอนกรีต ก็จะป้องกันปลวกขึ้นอาคารบ้านเรือนได้อย่างดี

ขั้นตอนนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากในการปฏิบัติมากกว่าการป้องกันก่อนการปลูกสร้างอาคารมากจำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการโดยเฉพาะมาดำเนินการสำรวจการเข้าทำลายอย่างถี่ถ้วน แล้ววางแผนถึงวิธีการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดในแต่ละจุดให้ทั่วถึงอย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามในการป้องกันกำจัดในระยะหลังการปลูกสร้างนี้ จะหวังผลเค็มที่ 100% ไม่ได้ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของโครงสร้างอาคารโดยทั่วไป มักมีจุดยากแก่การสำรวจซึ่งปลวกอาจหลบซ่อนอยู่ภายในส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโดยที่เราสำรวจไม่พบ นอกจากนี้โครงสร้างของอาคารบางส่วนอาจเป็นอุปสรรคทำให้ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการกำจัดในจุดที่จำเป็นก็ได้เช่นกัน

1.      บริเวณขอบบัวของพื้นอาคารและพื้นไม้ปาร์เก้ โดยเฉพะตามมุห้องต่างๆ บริเวณพื้นใต้บันได  ผนังอาคาร หลังตู้เก็บของ ห้องเก็บของที่ไม่มีการเคลื่อนย้ายเป็นเวลานานๆ
2.       บริเวณท่อระบายน้ำทิ้งและท่อสุขภัณฑ์ ซึ่งมักจะก่อผนังปิดหุ้มท่อไว้ เป็นจุดหนึ่งที่ปลวกทำทางเดินจากพื้นดินขึ้นไปตามขอบท่อ ในการใช้สารกำจัดปลวกจำเป็นต้องมีการเจาะผนังช่องว่างดังกล่าวด้วยสว่านไฟฟ้า แล้วอัดน้ำยาเคมีเข้าไปเพื่อทำลายรังภายในไม่ให้ปลวกเข้าไปอาศัยหรือทำทางเดินขึ้นไปได้อีก
3.        บริเวณรอยแตกของเสาไม้ ผนัง หรือพื้นคอนกรีต จำเป็นต้อนใช้เข็มฉีดยาฉีดอัดน้ำยาป้องกันกำจัดปลวกเข้าไปในแต่ละจุด เพื่อไม่ให้ปลวกแรกผ่านเข้ามาได้
4.        บริเวณคร่าวเพดาน และฝาสองชั้น ที่มักจะบุด้วยไม้อัด หรือใช้ไม้เนื้ออ่อนและมักจะถูกปลวกเข้าทำลายอยู่ภายใน หรือ บางครั้งจะทำรังอาศัยอยู่ภายในช่องว่างของผนังดังกล่าวจุดเหล่านี้จำเป็นต้องใช้สว่านเจาะไม้เจาะเป็นรูทุกระยะ 1 ฟุต ตามแนวคร่าว เพื่อฉีดพ่นน้ำยาเคมีเข้าไปให้ทั่วถึงในบางจุดอาจใช้ยาผงหรือฉีดพ่นได้ สำหรับการใช้สารกำจัดปลวกในโครงสร้างที่เป็นไม้นั้น หากใช้ตัวทำลายที่เป็นน้ำมัน เช่น น้ำมันก๊าด หรือน้ำมันซักแห้ง แทนน้ำจะช่วยให้การแพร่กระจายและการแทรกซึมของตัวยาเข้าไปในเนื้อไม้เป็นไปได้ดีขึ้น
5.       พื้นล่างของอาคารที่เป็นคอนกรีต จำเป็นจะต้องใช้สว่านไฟฟ้าเจาะคอนกรีต ขนาด 3-4 หุนเจาะพื้นอาคารให้ทะลุถึงพื้นดิน โดยเฉพาะตามบริเวณแนวคานคอดินทั้งด้านนอก ด้านใน และรอบๆเสาโดยเว้นระยะห่างทุกๆ 1 เมตรและพื้นที่ภายใต้อาคารทั้งหมดในระยะทุกๆ1 ตารางเมตร เพื่อฉีดพ่นหรืออัดน้ำยาลงไปในดินในอัดตราส่วนน้ำยาผสม 5 ลิตร ต่อทุกๆ 1 ตารางเมตรโดยอาจใช้อุปกรณ์เครื่องพ่นยาแรงสูง เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และการกระจายของน้ำยาได้อย่างสม่ำเสมอทั่วถึง ลักษณะของหัวฉีดที่ใช้ฉีดพ่นน้ำยาจะต้องมีรูเปิด 4 รู เพื่อให้น้ำยาไหลออกมาได้รอบทิศทาง

ลักษณะการราดในอาคารพื้นติดดิน
 แนวคานคอดิน, ราดยาให้ทั่วพื้นที่ภายใต้อาคารและใต้แนวอาคาร, ราดยาโดยรอบระบบท่อต่างๆ ที่ติดดิน, ราดยารอบๆ อาคาร ในระยะห่าง 1 เมตร

ลักษณะการราดบริเวณอาคารที่มีการยกพื้น
ระดับพื้นดิน, ราดยา 5 ลิตรต่อเมตร, ยกพื้น 45 เซ็นติเมตร 

ลักษณะการราดบริเวณเสา หรือ คานคอดิน บริเวณอาคารที่ปลูกสร้างเสร็จแล้ว
 ราดยา 5 ลิตรต่อเมตร, อัดยาลงรู 5 ลิตรต่อเมตร, ลึก 30 เซ็นติเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น